ขันธ์ ๕



ขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต
ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๑. รูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด
๒. เวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ
เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจ มนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้วไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา
๓. สัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่น เสียงดัง รูปสวย กลิ่นหอม รสหวาน ร้อน และดีใจ
๔. สังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล
๕. วิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 
 ๖

อายตนะ แปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป

อายตนะ ประกอบด้วย อายตนะภายใน  ๖ และอายตนะภายนอก  ๖
       หู       ที่เสียงดังมากระทบ                                       เรียกว่า โสตวิญญาณ
       ตา     ที่เห็นวัตถุรูป                                                 เรียกว่า จักษุวิญญาณ
       จมูก  ที่ดมกลิ่นสารพัดทั้งปวง                                  เรียกว่า ฆานวิญญาณ
       ลิ้น    ที่รับรสทุก ๆ อย่างที่มาสัมผัส                          เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
       กาย  ที่ถูกสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งอันจะรู้ได้ทางกาย   เรียกว่า กายวิญญาณ
       ใจ     ความรู้สึกนึกคิดในอารมณ์นั้น ๆ                        เรียกว่า มโนวิญญาณ

•••••••••

SpyLove.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น