กรณียเมตตสูตร (บทเมตตัญจะ)

กรณียเมตตสูตร (บทเมตตัญจะ)

สวดแล้วเทวดารักษา ภูตผีปีศาจไม่รบกวน มีเสน่ห์เป็นที่รักของทั้งเทพ มนุษย์และปีาศาจ
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีภิกษุหมู่หนึ่ง ประมาณ ๕๐๐ รูป รับเรียนพระกรรมฐานในพุทธสำนัก แล้วทูลลาไปเจริญสมณธรรมในปัจจันตชนบทแห่งหนึ่ง เข้าพักอยู่ในป่าใหญ่

ในป่านั้นท่านว่ามีรุกขเทวดาสิงอยู่ พอพระเข้าพัก พวกเทวดาก็ต้องหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะพระเป็นผู้ทรงศีล พวกเทวดาได้รับความลำบากมาก ต่างก็บ่นกันต่างๆ นานา เดิมก็คิดว่า พระคงจะพักสัก ๒-๓ คืน แต่พระท่านจะอยู่เจริญสมณธรรม พวกเทวดาปราถนาจะให้ท่านไปโดยอุบาย จึงแสดงภาพหลอกหลอนต่างๆ ส่งเสียงโหยหวนน่าหวาดเสียว ให้ไอ ให้จาม พระภิกษุเหล่านั้นใจไม่ปกติ หวาดกลัวอยู่ ทั้งไอ ทั้งจาม ก็พากันกลับมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลให้ทรงทราบ

พระพุทธองค์ทรงแนะให้ภิกษุเหล่านั้นเจริญเมตตา คือ สวดกรณียเมตตสูตรแล้ว ส่งพระเหล่านั้นกลับไปอีก คราวนี้ไปถึงก็เจริญกรณียเมตตสูตร พวกเทวดาได้ฟังพระสูตรนี้แล้วเกิดเมตตาจิต ขวนขวายเพื่อความสุขของพระภิกษุเหล่านั้น พระภิกษุเหล่านั้นได้สัปปายะ เจริญสมณธรรม บรรลุอรหัตเป็นพระอรหันต์ทั่วกัน

เพราะเรื่องนี้เองเป็นเหตุ จึงมีธรรมเนียมว่า เมื่อเดินผ่านศาลเจ้าหรือศาลเทพารักษ์ หรือไม้วันบดีที่มีประชาชนนับถือบูชา คนทั้งหลายต้องกราบไหว้ แต่ถ้าเป็นพระภิกษุต้องทำสามีจิกรรมเจริญเมตตา คือต้องสวดกรณียเมตตสูตร แม้คฤหัสถ์จะเจริญเมตตาด้วยก็ได้ ยงถือเป็นธรรมเนียมอยู่บัดนี้ เรียกว่ามนต์ขับผีก็ได้

เริ่มสวดภาวนา
นะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ 

บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนังยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโตสุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติเอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะสักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานีสันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติสันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธนะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุงสุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา 

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสาทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลาทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเรภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตานะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิพยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะมาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเขเอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณังอุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตังติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธเอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ

คาถาแผ่เมตตา (กรณียเมตตาสูตร) แบบย่อ 
หลวงปู่่ขาว อนาลโย วัดถ่ำกลองเพล ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ดังนี้

พุทธะ เมตตัง จิตตังมะมะ พุทธะ พุทธานุภาเวนะ
ธัมมะ เมตตัง จิตตังมะมะ ธัมมะ ธัมมานุภาเวนะ
สังฆะ เมตตัง จิตตังมะมะ สังฆะ สังฆานุภาเวนะ

ภาวนาก่อนจบการปฏิบัติภาวนา เป็นการแผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล หรือภาวนาบ่อย ๆเป็นพรหมวิหารภาวนา มีอานิสงค์มาก

SpyLove.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น